1.ห้ามดื่มสุราก่อนหรือในขณะปฏิบัติหน้าที่
-2.ห้ามยืนหรือเดินสูบบุหรี่โดยเปิดเผย
3.ห้ามสูบบุหรี่ในพื้นที่ที่มีวัตถุไวไฟเด็ดขาด
4.ห้ามเล่นการพนันในขณะปฏิบัติหน้าที่
5.ห้ามอ่านหนังสือทุกชนิดในขณะปฏิบัติหน้าที่
6.ห้ามนั่งไขว่ห้างในขณะปฏิบัติหน้าที่
7.ห้ามทำความรู้จักหรือให้ความสนิทสนมกับลูกน้องหรือพนักงานของผู้ว่าจ้างโดยเด็ดขาดเพราะอาจทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับ การปฏิบัติหน้าที่
8.ห้ามกู้ยืมเงินกับพนักงานของผู้ว่าจ้าง
9.ห้ามหยอกล้อหรือเล่นกันหรือกระทำตัวไม่เหมาะสมในขณะปฏิบัติหน้าที่
10.ห้ามจับกลุ่มรวมกันในขณะปฏิบัติหน้าที่เกินกว่า 2 คนขึ้นไปยกเว้นในจุดนั้นมีพนักงานที่จะต้องรับผิดชอบเกี่ยวกับงานตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป
11.การแต่งกายต้องสุภาพเรียบร้อยตามกฎที่บริษัทฯกำหนดไว้
12.คำพูดจาสุภาพอ่อนน้อมต่อลูกจ้างหรือพนักงานของผู้รับจ้างและต่อนายจ้างหรือบุคคลภายนอกที่มาติดต่อธุรกิจกับนายจ้าง
13.ห้ามไว้ผมยาวต้องตัดผมรองทรงและห้ามไว้หนวดเคราโดยเด็ดขาด
14.ต้องรักษาระเบียบวินัยในการเคารพผู้บังคับบัญชาตามลำดับ
15.ต้องเข้าเวรปฏิบัติหน้าที่เข้า-ออก ตามเวลาที่บริษัทฯกำหนดให้ห้ามเปลี่ยนแปลงโดยพลการ
16.ต้องไปหน่วยงานที่ปฏิบัติหน้าที่ก่อน 15 นาที
17.พนักงานที่มีพนักงานรักษาความปลอดภัยตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป ต้องรวมพลเข้าแถวทุกครั้งอย่างน้อย 15นาที เพื่อชี้แจงแก้ไขเพิ่มเติมการปฏิบัติหน้าที่ที่พกพร่องเพื่อให้พนักงานรักษาความปลอดภัยปฏิบัติหน้าที่โดยมีประสิทธิภาพโดยหัวหน้าชุดหรือผู้บังคับหน่วยเป็นผู้ดำเนินการรวมพล
18.พนักงานทุกคนต้องเชื่อฟังคำสั่งของผู้บังคับบัญชาของบริษัทฯและผู้ว่าจ้างโดยเคร่งครัด
19.ห้ามพนักงานรักษาความปลอดภัยทิ้งจุดรักษาการที่รับผิดชอบโดยเด็ดขาดหากยังไม่มีผู้รับผิดชอบพลัดต่อไปมารับหน้าที่แทนและต้องแจ้งให้บริษัทฯทราบโดยทันที
20.ต้องบันทึกเหตุการณ์ที่พบเห็นตลอดเวลาปฏิบัติหน้าที่โดยละเอียดทั้งนี้เพื่อว่าเหตุการณ์อะไรที่เกิดขึ้นจะได้ตรวจสอบได้และเพื่อไม่เป็นการประมาทเลินเล่อของพนักงานรักษาความปลอดภัยในขณะปฏิบัติหน้าที่
21.ต้องใช้ไหวพริบ เป็นคนช่างสังเกต สนใจและรับทราบเหตุการณ์เคลื่อนไหวต่างๆอยู่เสมอเพื่อจะได้หาวิธีป้องกันอันตรายที่เกิดขึ้นได้ทันเหตุการณ์และต้องป้องกันรักษาทรัพย์สินของผู้ว่าจ้างในภยันตรายที่เกิดขึ้นจะสุดความสามารถ
22.ในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ ถ้ามีเหตุการณ์ไม่ปกติเกิดขึ้น หรือว่ามีเหตุการณ์ผิดสังเกตจะก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นได้ให้พนักงานรักษาความปลอดภัยปฏิบัติ ดังนี้
22.1)ต้องตัดสินใจแก้ปัญหาทันที แล้วแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาทราบ
22.2)ต้องบันทึกและแจ้งให้ผู้รับเวรผลัดต่อไปทราบ
22.3)ต้องบันทึกเหตุการณ์นั้นๆลงในสมุดเพื่อเป็นหลักฐานและต้องรายงานเป็นหนังสือเสนอหัวหน้าผลัด หัวหน้าชุดหรือผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นงาน และผู้บังคับบัญชาจะได้ทำรายงานเสนอผู้ว่าจ้างและบริษัทฯ ต่อไป
23.ก่อนที่จะส่งมอบเวรให้ซึ่งกันและกันในแต่ละครั้ง พนักงานจะต้องสำรวจตัวเองเสียก่อนรับปฏิบัติหน้าที่ โดยถูกต้องครบถ้วนตามกฎระเบียบของบริษัทฯหรือตามนโยบายของผู้ว่าจ้างหรือยังต้องแก้ไขอย่างไรบ้าง
24.ในกรณีที่เกิดเหตุร้ายขึ้นในขณะปฏิบัติหน้าที่ ปฏิบัติตามขั้นตอนดังนี้
24.1)ต้องควบคุมป้องกันสถานการณ์และสถานที่เกิดเหตุในทันที
24.2)ต้องใช้ความรู้ความสามารถอบรมมาจนเต็มความสามารถ
24.3)ติดต่อระดับผู้บังคับบัญชาของบริษัทฯ และบริษัทฯของผู้ว่าจ้างเพื่อรายงานเหตุการณ์ให้ทราบทุกครั้ง
24.4)กรณีเหตุการณ์ร้ายแรงยากที่จะระงับเหตุการได้ให้พนักงานรักษาความปลอดภัย แจ้งเหตุด่วนเหตุร้าย 191 (สายตรวจปฎิบัติการพิเศษ) 195(กองปราบปราม) 199(ตำรวจดับเพลิง) หรือสถานที่เกิดเหตุ
25. พนักงานรักษาความปลอดภัยทุกคน ต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างเข้มแข็งรอบคอบ เพื่อมิให้เกิดความเสียหาย ทรัพย์สินของผู้ว่าจ้างไม่ว่าจากการลักทรัพย์ช่อโกง หรือทำให้เสียทรัพย์
26. ในกรณีที่พนักงานรักษาความปลอดภัยทะเลาะวิวาทกันในขณะปฏิบัติหน้าที่จะ ถูกพิจารณาโทษโดยให้ออก
27. พนักงานรักษาความปลอดภัย ไม่พูดให้ร้ายกับบริษัทฯ หรือบริษัทฯผู้ว่าจ้างเสียหาย
28. พนักงานรักษาความปลอดภัย ซึ่งทำผิดข้างต้น บริษัทฯจะลงโทษตามขั้นตอน ดังนี้
ความผิดครั้งแรก
ความผิดครั้งที่สอง
ความผิดครั้งที่สาม
-ว่ากล่าวตักเตือนด้วยวาจา
-ตัดค่าแรง
-ให้ออก
-ว่ากล่าวตักเตือนลายอักษร
-สั่งพักงาน
-ปลดออก
-ทำทัณฑ์บนหรือภาคทัณฑ์
-ตักเตือนครั้งสุดท้าย
29. พนักงานผู้ใดไม่ปฏิบัติตามหรือฝ่าฝืนกฎระเบียบขั้นต้นของบริษัทฯจะดำเนินการลงโทษอย่างเด็ดขาด